ประกาศ!! : การประชุมปฐมนิเทศโครงการ จำนวน 2 เวที วันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2566

〉〉 องค์ประกอบที่สำคัญของโครงการฯ ระยะที่ 2

  1. คลองระบายน้ำหลากป่าสัก-อ่าวไทย ช่วงตั้งแต่ กม. 0+000 ถึง กม.81+000 ระยะทางประมาณ 81 กิโลเมตร
  2. คลองเชื่อมคลองระพีพัฒน์ ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร
  3. ประตูระบายน้ำ ในคลองระบายน้ำหลากป่าสัก-อ่าวไทย จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย (1) ปตร.ปากคลองระบายน้ำหลาก (2) ปตร.ปากคลองเชื่อมคลองระพีพัฒน์ (3) ประตูระบายน้ำกลางคลอง (เสาไห้) และ (4) ประตูระบายน้ำกลางคลอง (บางน้ำเปรี้ยว)
  4. อาคารเชื่อมจุดตัดคลอง เป็นอาคารท่อระบายน้ำและไซฟอน จำนวน 28 แห่ง
  5. สะพานน้ำ จำนวน 7 แห่ง
  6. ท่อรับน้ำป่า จำนวน 4 แห่ง
  7. สะพานรถยนต์ แนวของคลองระบายน้ำหลากจะตัดผ่านเส้นทางคมนาคมทางบกซึ่งเป็นถนนเลียบคลอง ถนนเข้าหมู่บ้านและถนนทางหลวง จำนวน 30 แห่ง และเป็นจุดตัดเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ จำนวน 2 แห่ง คือ จุดตัดทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 และ จุดตัดทางด่วนสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี
  8. สะพานรถไฟ บริเวณจุดตัดรถไฟรางคู่ จำนวน 1 แห่ง
  9. การออกแบบภูมิสถาปัตย์ บริเวณ ปตร.ปากคลองระบายน้ำหลาก ปตร.ปากคลองเชื่อมคลองระพีพัฒน์ ประตูระบายน้ำกลางคลอง (เสาไห้) และ ประตูระบายน้ำกลางคลอง (บางน้ำเปรี้ยว)

 

ระยะเวลาการดำเนินงาน

         มีระยะเวลาดำเนินงาน จำนวน 720 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2565 ถึง วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2567

 

ประโยชน์ที่ได้จากโครงการ

  1. เพื่อบริหารจัดการน้ำหลากที่ไหลล้นตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาและลำน้ำสาขา
  2. เพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำและทำให้การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตะวันออกตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในสภาวะปกติและสภาวะวิกฤต
  3. เพื่อการระบายน้ำ 600 ลบ.ม./วินาที
  4. ลดการเกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก และวิกฤตน้ำหลากที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
  5. มีพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ในคลองช่วงปลายฤดูฝน เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบชลประทาน สำหรับเกษตรกรรม

มีถนนตลอดสองฝั่งคลองช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง การขนส่งพืชผลทางการเกษตร ตลอดจนส่งเสริมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในพื้นที่และเชื่อมโยงกับพื้นที่ใกล้เคียง