งานสำรวจ ออกแบบ

โครงการคลองระบายน้ำหลาก ป่าสัก – อ่าวไทย ระยะที่ 2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

I ความเป็นมาของโครงการ

ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างประสบปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้ง เนื่องจากมีปริมาณน้ำหลากจากภาคเหนือค่อนข้างสูง ทำให้มีปริมาณน้ำที่เกินศักยภาพการระบายน้ำในปัจจุบัน 

ปี พ.ศ.2554 เกิดมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรม ชุมชนที่อยู่อาศัย แหล่งอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยวมากกว่า 20 ล้านไร่ มีมูลค่าความเสียหายกว่า 1.42 ล้านล้านบาท

ปี พ.ศ.2555 กรมชลประทาน ได้ทำการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณด้านท้ายของเขื่อนเจ้าพระยา

ปี พ.ศ.2560 กรมชลประทาน ได้ทำการศึกษาทบทวนความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ระบบระบายน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างและจัดทำแผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างจำนวน 9 แผนงาน โดยคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) มีมติเห็นชอบในหลักการ    เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ปี พ.ศ.2560

  โครงการคลองระบายน้ำหลากป่าสัก-อ่าวไทย

โครงการคลองระบายน้ำหลากป่าสัก-อ่าวไทย เป็นคลองขุดใหม่ทำหน้าที่ระบายน้ำหลากจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก 
มีจุดเริ่มต้นจากแม่น้ำป่าสัก บริเวณ ตำบลเริงราง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ผ่านเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครนายก ฉะเชิงเทรา
และสมุทรปราการ ความยาวรวม 135.55 กิโลเมตร 

I วัตถุประสงค์ของโครงการ

1) เพื่อปรับปรุงระบบชลประทานในพื้นที่ฝั่งตะวันออกตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา 
2) เพื่อการบริหารจัดการน้ำหลากที่ไหลล้นตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาและลำน้ำสาขา
3) เพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำและทำให้การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตะวันออกตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
    ในสภาวะปกติและสภาวะวิกฤต
4) เพื่อการระบายน้ำ 600 ลบ.ม./วินาที
5) ลดการเกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก และวิกฤตน้ำหลากที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 
6) มีพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ในคลองช่วงปลายฤดูฝน เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบชลประทาน สำหรับเกษตรกรรม